ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยตามทะเบียนเลขที่ จ.๔๗๙๙/๒๕๕๒ มีผลตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒ โดยมีรายชื่อคณะผู้ก่อตั้ง ดังนี้
- ผู้ก่อตั้งสมาคม
- วัตถุประสงค์สมาคม
- สัญลักษณ์สมาคม
- คณะกรรมการ
- ตำแหน่งของคณะกรรมการ
- อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
- เป็นศูนย์กลางความร่วมมือในการกำหนดนโยบายและทิศทางในการบริหารจัดการอุดมศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐ และการประสานงานเรื่องทางการศึกษา
- เป็นผู้ดำเนินการจัดสอบวัดความรู้ความสามารถเพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยตามที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยมอบหมาย
- เป็นศูนย์กลางในการจัดการรับเข้านักศึกษาให้กับมหาวิทยาลัยที่สมัครใจรับบริการ
- การจัดฝึกอบรมและสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับงานด้านการศึกษาและการจัดการอุดมศึกษา
- การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการศึกษาและคุณภาพของมหาวิทยาลัย
- การค้นคว้าศึกษาวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการอุดมศึกษาไทย
- แสวงหาความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาของไทย

ตำแหน่งของคณะกรรมการสมาคม
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคมเรียกว่า “คณะกรรมการสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย” เรียกว่า กก.สมาคม ทปอ. ประกอบด้วย
- นายกสมาคม ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคมเป็นผู้แทนสมาคมในการ ติดต่อกับบุคคลภายนอก และทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ และการประชุมใหญ่ของสมาคม
- อุปนายก ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคม ปฏิบัติตามหน้าที่นายกสมาคมได้มอบหมายและทำหน้าที่แทนนายกสมาคม เมื่อนายกสมาคม ไม่อยู่ หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทำหน้าที่แทนนายกสมาคม ให้อุปนายกตาม ลำดับตำแหน่งเป็นผู้กระทำแทน
- เลขานุการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมดเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าทีของ สมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคม และปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสมาคม ตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม
- เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีอ รายรับ รายจ่าย บัญชีงบดุลของสมาคม และเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ
- ปฏิคม มีหน้าที่ในการให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ของสมาคม และจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่าง ๆ ของสมาคม
- นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคมประสานงานกับเหรัญญิก ในการเรียกเก็บเงินค่าบำรุงสมาคมจากสมาชิก
- ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิกและบุคคล โดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
- กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้นแต่ถ้า คณะกรรมการมิได้กำหนดตำแหน่งก็ถือว่า เป็นกรรมการกล
ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมและอุปนายก ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยตามข้อบังคับสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ข้อ 6.1 (ก)ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมหรืออุปนายกพ้นจากตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐ ให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่งกรรมการสมาคม
อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการสมาคม
- มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้
- มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
- มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการจะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
- มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ
- มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ ที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
- มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนมีอำนาจอื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
- มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม
- มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกสามัญจำนวนหนึ่งในสามของสมาชิกทั้งหมด ได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมวิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุมวิสามัญขึ้นภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
- มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
- จัดทำบัญชีการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิกได้รับทราบ
- มีหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้